หูของเขากับปากของเขามันอยู่ใกล้กัน หูของเรามันอยู่ไกลจากปากเขา เก็บเอามาเป็นขยะในใจเราทำไม <เก็บเอามาฝากจากพระวิทยากร>

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

ธรรมวิภาค (๓)

บูชา ๒
     บูชา หมายถึง การแสดงความเคารพเทิดทูน การยกย่องนับถือในบุคคลที่ควรเคารพยกย่อง หรือสักการบูชาในปูชนียวัตถุสถานที่ที่ควรบูชา มี ๒ วิธี คือ
  • อามิสบูชา การบูชาด้วยอามิส หมายถึง การนำวัตถุสิ่งของต่างๆ ไปสักการบูชาต่อบุคคลหรือสิ่งที่ควรบูชา เช่น ให้ข้าว ให้น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เป็นต้น รวมถึงการปรนนิบัติรับใช้ผู้มีพระคุณต่อตน ด้วยสิ่งของหรือแรงกายของตน
        การทำอามิสบูชาในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ได้แก่ การถวายปัจจัย ๔ มี จีวร บาตร เสนาสนะ และเภสัช รวมถึงเครื่องสักการอย่างอื่น ดอกไม้ ธูปเทียน แด่พระรัตนตรัย เพื่อเป็นพุทธบูชา ธัมมบูชา สังฆบูชา
  • ปฏิปัตติบูชา การบูชาด้วยการปฏิบัติตาม หมายถึง การบูชาด้วยการปฏิบัติตามแบบอย่างที่ท ่านทำ ปฏิบัติตตามคำที่ท่านสอนด้วยความเคารพ ไม่อวดดื้อถือรั้นด้วยมานะทิฏฐิ ปฏิบัติด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่จำยอมด้วยถูกบังคับ
        การปฏิบัติบูชาในพระพุทธศาสนา ได้แก่ การตั้งอกตั้งใจปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยสมควรแก่เพศภาวะที่ตนเป็นอยู่ จะเป็นพระหรือชาวบ้านก็ตั้งใจรักษาปฏิบัติตามเพศภาวะแห่งตน


วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

ธรรมวิภาค (๒)

กาม ๒ แบ่งเป็น กิเลสกาม และวัตถุกาม
กาม หมายถึง ความใคร่ ความรัก ความพอใจ หรือความต้องการ จะเป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายไม่ดีขึ้นอยู่กับความต้องการที่น้อมใจไป ในที่นีจัดเป็น กามฝ่ายไม่ดี มี ๒ ประเภท คือ
  • กิเลสกาม กิเลสเป็นเหตุใคร่ หมายถึง กิเลสที่มีอยู่ในจิตใจคน ซึ่งเมื่อถูกกิเลสครอบงำ ย่อมชักนำใจให้เกิดความดิ้นรนอยากได้ เช่น ราคะ ความกำหนัด โลภะ ความโลภ อิจฉา ความอยากได้ อิสสา ความริษยา อรติ ความไม่ยินดี อสันตุฏฐิ ความไม่สันโดษ เป็นต้น เรียกว่า ปริยุฏฐานกิเลส กิเลสที่ทำให้ใจเร่าร้อนกระวนกระวาย ชักนำให้ทำชั่วทางกาย วาจา ใจได้ กิเลสกามจัดเป็นมาร เพราะเป็นต้นเหตุล้างผลาญความดีทำให้เสียคน
  • วัตถุกาม พัสดุอันน่าใคร่ หมายถึง กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นตัวยั่วยุให้คนเกิดความใคร่ วัตถุกาม จัดเป็นบ่วงแห่งมาร เพราะเป็นเครื่องผูกจิตของผู้ไม่รู้เท่าทันที่ติดอยู่ในกามคุณ
     กิเลสกามกับวัตถุกาม เป็นของเกี่ยวเนื่องกัน คือ กิเลสกามเป็นตัวใคร่ วัตถุกามเป็นสิ่งที่ถูกใคร่ ทั้งเป็นตัวยั่วยวนล่อใจให้เกิดความใคร่ด้วย



ธรรมวิภาค (๑)

วิชาธรรมวิภาคในธรรมศึกษาชั้นโทมี ๑๐ หมวด คือ
-ทุกะ หมวด ๒
-ติกะ หมวด ๓
-จตุกกะ  หมวด ๔
-ปัญจกะ หมวด ๕
-ฉักกะ หมวด ๖
-สัตตกะ หมวด ๗
-อัฏฐกะ หมวด ๘
-นวกะ หมวด ๙
-ทสกะ หมวด ๑๐
-ทวาทสกะ หมวด ๑๒
     ในแต่ละหมวดยังมีข้อย่อยๆ แยกออกไปอีก คือ
ทุกะ หมวด ๒ จะแบ่งออกเป็น กัมมัฏฐาน ๒ กาม ๒ บูชา ๒ ปฏิสันถาร ๒ สุข ๒
     กัมมัฏฐาน คือ อารมณ์ที่ตั้งแห่งการงานของใจ หมายถึง สิ่งที่ยึดเหนี่ยวผูกใจไว้ไม่ให้ฟุ้งซ่าน ควบคุมใจให้สงบหรือให้เกิดปัญญา ตามวิธีที่เลือกปฏิบัติ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ภาวนา" มี ๒ ประเภท คือ
     ๑.สมถกัมมัฏฐาน กัมมัฏฐานเป็นอุบายสงบใจ หมายถึง การปฏิบัติธรรมด้วยการบริกรรม ทำความเพียรทางจิตโดยใช้สติกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ ๔๐ มี
  • กสิณ ๑๐ ได้แก่การเพ่งวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง จนจิตนิ่งเป็นสมาธิ เช่น ดิน น้ำ ไฟ ลม  สีต่างๆ เป็นต้น
  • อสุภะ ๑๐ ได้แก่การพิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ เช่น ซากศพที่เน่าพุพอง มีสีเขียวคล้ำ มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม หรืออวัยวะส่วนต่างๆ ขาดหาย เป็นต้น 
  • อนุสสติ ๑๐ ได้แก่การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คุณของศีล เป็นต้น
  • พรหมวิหาร ๔ ได้แก่ การเจริญพรหมวิหารธรรม ๔ ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ให้เกิดขึ้นในใจเนืองๆ
  • อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ ได้แก่ การพิจารณาอาหารให้เห็นเป็นของน่าเกลียด
  • จตุธาตุววัฏฐาน ๑ ได้แก่ การกำหนดพิจารณาร่างกาย แยกส่วนออกเป็นธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม
  • อรูปฌาน ๔ ได้แก่ การเพ่งสิ่งที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ เช่น กำหนดที่ว่างแบบไม่มีขอบเขตเป็นอารมณ์ กำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ เป็นต้น ซึ่งเป็นการเจริญสมาธิขั้นสูงระดับฌาน
     การปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานให้ได้ผลเร็ว ควรปฏิบัติให้ถูกจริตของตัวเองด้วย จริตมี ๖ อย่าง คือ ราคจริต โทสจริต โมหจริต สัทธาจริต พุทธิจริต วิตักกจริต
     ๒.วิปัสสนากัมมัฏฐาน กัมมัฏฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา หมายถึง การเจริญกัมมัฏฐานที่ใช้ปัญญาพิจารณาสภาวธรรมเป็นหลัก คือ พิจารณา
  • ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
  • ธาตุ ๑๘ มีจักขุธาตุ(จักษุประสาท) รูปธาตุ(รูปภายนอก) จักขุวิญญาณธาตุ(ธาตุที่ทำหน้าที่รู้ทางตา) เป็นต้น
  • อายตนะ ๑๒ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์ และ อายตนะภายใน ๖ คือ ประสาทตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
  • อินทรีย์ ๒๒ ได้แก่สิ่งที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน เช่น จักขุนทรีย์ เป็นใหญ่ในการเห็นรูป 
     พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสามัญลักษณะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนสามารถคลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ได้


วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผลสอบธรรมศึกษาโท ๒๕๕๓ รร.อนุบาลดอนพุด


สบ ๒๕๕๓/๔๐๒๗  เด็กชายนันทพงษ์    ควรระงับ
สบ ๒๕๕๓/๔๐๒๘  เด็กชายอิทธิพล      ต่ายสิน
สบ ๒๕๕๓/๔๐๒๙   เด็กชายจตุพร                บุญหล้า
สบ ๒๕๕๓/๔๐๓๐   เด็กหญิงกุสุมา               สาทอง
สบ ๒๕๕๓/๔๐๓๑   เด็กหญิงพนิดา               เหลืองประทีป
สบ ๒๕๕๓/๔๐๓๒  เด็กหญิงศิรดา                 แก้วชาติ
สบ ๒๕๕๓/๔๐๓๓  เด็กหญิงอายริน              เอกทัศน์
สบ ๒๕๕๓/๔๐๓๔  เด็กหญิงกาญจนา           จิตรีรัตน์
สบ ๒๕๕๓/๔๐๓๕  เด็กหญิงเขมรัตน์            ศรีโปฎก
สบ ๒๕๕๓/๔๐๓๖  เด็กหญิงเนตรนภา           สว่างภักดี
สบ ๒๕๕๓/๔๐๓๗  เด็กหญิงศิรินาถนภา        สุรเดช

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความอดทน เอาชนะอุปสรรคทั้งปวงด้วยความดี(6)

     มาถึงตอนจบแล้วค่ะ มีเซอร์ไพรส์ เรามาดูกันนะคะว่าผลของการทำความดี มีกตัญญู ให้อะไรกับสวาทบ้าง ความดีไม่สูญหายไปไหนแน่นอน เรามารีบเร่งทำความดีกันนะคะ อย่าให้แพ้ผู้หญิงที่ชื่อสวาทนะ ชีวิตเราดีกว่าเขาตั้งเยอะ 

ความอดทน เอาชนะอุปสรรคทั้งปวงด้วยความดี(5)

   สวาทตอนที่แล้วเธอดูอารมณ์ดุเดือดจังเลยนะคะ อาจจะเป็นเพราะอุปสรรคที่เกิดกระหน่ำเข้ามาในชีวิต  แต่เพราะมีสามีที่ดี ใจเย็น ก็ทำให้เธอผ่านมันมาได้บวกกับความดีที่มีอยู่ในตัวเธอ ทำให้ได้อย่างเธอนะคะ ความดีส่งผลกับเราแน่นอน ชาตินี้แหละค่ะ

ความอดทน เอาชนะอุปสรรคทั้งปวงด้วยความดี(4)

     ถึงแม้ว่าเธอจะเป็นเพียงผู้หญิงบ้านนอก ที่ต้องมาหางานดิ้นรนต่อสู้ชีวิตด้วยความยากลำบาก เธอก็ยังคงความดี ความกตัญญูที่มีต่อบุพการี ต่อผู้มีพระคุณ ตอนนี้สวาทได้พบกับพระเอกในชีวิตของเธอ(หน้าตาดีเกินความคาดหมายแถมยังเป็นคนดีอีกด้วย) มาดูเรื่องราวของเธอต่อกันดีกว่านะคะ

ความอดทน เอาชนะอุปสรรคทั้งปวงด้วยความดี(3)

     จากเด็กหญิง ตอนนี้เธอได้เติบโตเป็นสาวแล้ว ถึงแม้จะยากลำบากแต่เธอก็อดทน และกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นจริงๆ ในโลก ในสังคมนี้ยังมีคนดีๆ อีกมากนะคะ

ความอดทน เอาชนะอุปสรรคทั้งปวงด้วยความดี(2)

     ความเป็นไปของเด็กหญิงสวาท กำลังน่าติดตามเลยนะคะ เรามาติดตามเรื่องของเธอต่อกันเลยดีกว่า 

ความอดทน เอาชนะอุปสรรคทั้งปวงด้วยความดี(1)

     ได้ดูละครเรื่องหนึ่งที่สร้างมาจากชีวิตจริงของผู้หญิงคนหนึ่ง เธอไม่ได้เกิดมาในครอบครัวที่ร่ำรวย แต่เธอมุ่งมั่นในความดี รักบุญดูเรื่องนี้แล้วมีกำลังใจในการสร้างความดีขึ้นมากมาย อยากแบ่งปันเรื่องดีๆ กับทุกคนค่ะ 

ความสุขจากการให้

     คุณเคยให้อะไรใครโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนมั้ย ความสุขที่ได้ให้มันไม่มีประมาณ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า 
ปุพฺเพ ทานาทิกํ ทตฺวา     อิทานิ ลภตี สุขํ
มูเลว สิญฺจิตํ โหติ     อคฺเค จ ผลทายกํ
ให้ทานเป็นต้นก่อน จึงได้สุขบัดนี้
เหมือนรดน้ำที่โคน ให้ผลที่ปลาย.
      เรามาเริ่มสร้างมหาทานบารมีตามรอยพระศาสดากันดีกว่านะคะ หากทุกๆ คนมีเมตตา แบ่งปัน ช่วยเหลือ นอกจากจะทำให้เรามีความสุข ยังเป็นการสร้างสังคมใ้ห้มีความสุข มาเป็นต้นบุญต้นแบบสร้างความดีด้วยการใ้ห้กันนะคะ 

เมื่อคุณท้อแท้ หมดกำลังใจ

     บางครั้งที่รู้สึกท้อแท้ ไม่อยากจะสู้ หรือแม้กระทั่งไม่อยากที่จะมีชีวิตอยู่ การเกิดมาเป็นมนุษย์เป็นเรื่องยาก นับว่าเราทั้งหลายมีบุญมากที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ใช้เวลาที่มีอยู่บนโลกใบนี้ให้สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์นะคะ สั่งสมบุญกุศลให้เต็มที่ เต็มกำลัง เพื่อภพชาติต่อไปเราจะได้ไม่ตกไปสู่อบายภูมิ ดินแดนที่ทุกข์ทรมาน ลำบากกว่า ยาวนานกว่า มากกว่าที่เราเผชิญอยู่ในโลกนี้ หลายๆ คนที่ลำบากกว่าเรายังมี มองให้เป็นธรรมดา มองไปรอบๆ ตัวกว้างๆ แล้วเราจะเห็นว่า อืม....เรายังดีกว่าเขาเยอะเลย ลองดูนะคะ สู้ สู้

บทแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล

พระคาถาป้องกันภัย 10 ทิศ

พระคาถาชินบัญชร

บทสวดมนต์ สรภัญญะ Buddha Prayer Song

สวดมนต์ทำวัตรเย็น

สวดมนต์ทำวัตรเช้า

คำไหว้บารมี ๓๐ ทัศ

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

อธิษฐานธรรม ข้อที่ ๑๗ ให้ระวังมิตรเทียม


มิตรเทียม ๒ ประเภท ได้แก่
๑.มิตรดีแต่พูด มีลักษณะดังนี้
-ดีแต่ยกของที่หมดแล้วมาพูด
-ดีแต่อ้างของที่ยังไม่มีมาพูด
-สงเคราะห์ด้วยสิ่งที่ยังไม่มีมาพูด
-เมื่อเพื่อนมีกิจอ้างแต่เหตุขัดข้อง
๒.มิตรพูดประจบ มีลักษณะดังนี้
-จะทำชั่วก็เห็นว่าดี โดยไม่ห้าม
-จะทำดีก็เห็นว่าดี เพื่อต้องการเอาใจ
-ต่อหน้าสรรเสริญ
-ลับหลังนินทา
ผู้อธิษฐานธรรมข้อนี้ให้ระวังในการคบมิตร
มิตรเทียมมีลักษณะดังที่กล่าวมาแล้ว
ไม่ชี้ประโยชน์และทางนำไปสู่ความสุขได้
ดังนั้นควรแสวงหาเพื่อนที่ดี ถ้าหาไม่พบ
ก็ควรอยู่คนเดียวดีกว่าเอาคนชั่วมาเป็นเพื่อน
ฉันทนา  อุตสาหลักษณ์
กองทุนพิทักษ์ธรรม

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

แม่ครัวใจดี


     ป้าบุญปลูกและป้าไสว แม่ครัวใจดีที่เป็นอาสาสมัครมาช่วยทำอาหารเลี้ยงผู้ปฏิบัติ นอกจากจะใจดีแล้วยังทำอาหารอร่อยอีกด้วย และคุณป้าใจดีทั้งสองยังบอกมาว่าครัวที่นี่ "ปลอดผงชูรส" และพืชผักที่ใช้ก็เป็นผักปลอดสาร รับรองความสด สะอาด ทุกๆจานที่ออกจากครัววัดดอนพุด รักบุญกระซิบนิดนะคะคุณป้าทำน้ำเต้าหู้อร่อยมาก หากโชคดีมีถั่วเหลืองท่านก็จะทำให้เราได้ทานเป็นน้ำปานะกัน 

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

อธิษฐานธรรม ข้อที่ ๑๖ ธรรมประจำใจอันประเสริฐ

ธรรมประจำใจอันประเสริฐมี ๔ ประการ
๑.เมตตา ความรักใคร่ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรี และคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์และสัตว์
๒.กรุณา ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์
๓.มุทิตา ความยินดี เมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข
๔.อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอีัยงด้วยความรักและชัง พิจารณาเห็นว่าทุกคนต้องรับผลกรรมดี กรรมชั่วที่ตนได้กระทำไว้แล้ว
ผู้อธิษฐานธรรมข้อนี้ ต้องดำรงพรหมวิหาร ๔
จะได้รู้หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์ 
เป็นธรรมที่ต้องมีไว้เป็นหลักใจและกำกับความประพฤติ
จึงชื่อว่า ดำเนินชีวิตหมดจด
และประพฤติตนต่อมนุษย์สัตว์ทั้งหลายโดยชอบ
ท่านมีธรรมประจำใจอันประเสริฐแล้วหรือยัง?
ฉันทนา อุตสาหลักษณ์
กองทุนพิทักษ์ธรรม

ผลสอบธรรมศึกษาตรี รร.อนุบาลดอนพุด


     ผลสอบธรรมศึกษาตรีประจำปี ๒๕๕๓ ของโรงเรียนอนุบาลดอนพุด(พิพัฒน์ดวงราษฎร์บำรุง) เก่งๆ กันทั้งนั้นเลยนะคะ สำหรับคนที่ยังสอบไม่ผ่านไม่ต้องเสียกำลังใจนะคะ สู้สู้ ปีนี้(๒๕๕๔) เอาใหม่ รักบุญจะหาความรู้ในเรื่องของธรรมศึกษาตรีมาฝาก เด็กๆ จะได้ค้นคว้าได้จากที่นี่นะคะ......ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆคนค่ะ
สบ ๒๔๕๓/๖๘๕๔
เด็กชายพรชัย
ค้ำคูณ
สบ ๒๔๕๓/๖๘๕๕
เด็กชายธนวัชร์
ศรีเพ็ชร
สบ ๒๔๕๓/๖๘๕๖
เด็กหญิงมณีรัตน์
วงษาก้อ
สบ ๒๔๕๓/๖๘๕๗
เด็กหญิงพนาวรรณ
พันธุ์น้อย
สบ ๒๔๕๓/๖๘๕๘
เด็กหญิงวราภรณ์
เฉลยขวัญ
สบ ๒๔๕๓/๖๘๕๙
เด็กหญิงธัญลักษณ์
คลองสุวรรณ
สบ ๒๔๕๓/๖๘๖๐
เด็กหญิงขวัญชนก
เอี่ยมสุดใจ
สบ ๒๔๕๓/๖๘๖๑
เด็กหญิงยุพิน
คำพันธุ์
สบ ๒๔๕๓/๖๘๖๒
เด็กหญิงจุติมา
ศิริบุญ
สบ ๒๔๕๓/๖๘๖๓
เด็กชายชัยเวท
เกิดแก้ว
สบ ๒๔๕๓/๖๘๖๔
เด็กชายเทียนชัย
สุขประสิทธิ์
สบ ๒๔๕๓/๖๘๖๕
เด็กชายธนศักดิ์
ลิ้มประเสริฐ
สบ ๒๔๕๓/๖๘๖๖
เด็กชายวัชรินทร์
โพธิ์กลาง
สบ ๒๔๕๓/๖๘๖๗
เด็กชายอนุวัต
อุตอามาตย์
สบ ๒๔๕๓/๖๘๖๘
เด็กชายจิรายุศ
มหายนต์
สบ ๒๔๕๓/๖๘๖๙
เด็กชายนพรัตน์
คำมี
สบ ๒๔๕๓/๖๘๗๐
เด็กชายปณณัตน์
ผันเจริญ
สบ ๒๔๕๓/๖๘๗๑
เด็กชายอมรเทพ
สงฆ์ชาติ
สบ ๒๔๕๓/๖๘๗๒
เด็กหญิงฉัตรฑริกา
กองโชค
สบ ๒๔๕๓/๖๘๗๓
เด็กหญิงตันลีซีน
สุขสุศักดิ์
สบ ๒๔๕๓/๖๘๗๔
เด็กหญิงเมธาวี
หมายมั่นสมสุข
สบ ๒๔๕๓/๖๘๗๕
เด็กหญิงรัตตะวัน
ดวงเพ็ชร
สบ ๒๔๕๓/๖๘๗๖
เด็กหญิงวัชราพร
วงษ์เมือง
สบ ๒๔๕๓/๖๘๗๗
เด็กหญิงปาลิตา
บุญลือ
สบ ๒๔๕๓/๖๘๗๘
เด็กหญิงณัฐนิชา
คตทอย
สบ ๒๔๕๓/๖๘๗๙
เด็กหญิงขนิษฐา
ผู้เกิด
สบ ๒๔๕๓/๖๘๘๐
เด็กหญิงบุษยรัตน์
ทรงงาม
สบ ๒๔๕๓/๖๘๘๑
เด็กหญิงภัทราภรณ์
ใคร๋ครวญ
สบ ๒๔๕๓/๖๘๘๒
เด็กหญิงโยษิตา
เงินเหรียญ
สบ ๒๔๕๓/๖๘๘๓
เด็กหญิงวิราวรรณ
จตุพร
สบ ๒๔๕๓/๖๘๘๔
เด็กหญิงศุภนิตา
ปัญญาผล
สบ ๒๔๕๓/๖๘๘๕
เด็กหญิงสิตานันท์
เสาโท
สบ ๒๔๕๓/๖๘๘๖
เด็กหญิงอภัสรา
กองวิเชียร
สบ ๒๔๕๓/๖๘๘๗
เด็กหญิงธัญญเรศ
ณรงค์ฤทธิ์
สบ ๒๔๕๓/๖๘๘๘
เด็กหญิงศิริพรรณ
จำเนียรพร
สบ ๒๔๕๓/๖๘๘๙
เด็กหญิงณัฐนิชา
อินจู
สบ ๒๔๕๓/๖๘๙๐
เด็กหญิงกาญจนา
นกเขา
สบ ๒๔๕๓/๖๘๙๑
เด็กหญิงกาญจนา
กิติคุณาภิรมย์
สบ ๒๔๕๓/๖๘๙๒
เด็กหญิงณัฐพร
วงษ์คูน
สบ ๒๔๕๓/๖๙๒๐
เด็กหญิงกนกวรรณ
คำนวนบุญ

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทำไมต้องทำกััมมัฏฐาน


     หลายๆ คนคงจะมีคำถามว่า ทำไมต้องปฏิบัติธรรม ทำไมต้องมาทำกัมมัฏฐาน เราก็รักษาศีลห้าอยู่แล้วนี่ ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติธรรมหรอก จริงหรือที่ไม่ต้องปฏิบัติธรรม วันนี้เรามาไขข้อข้องใจกันดีกว่าค่ะ
     ที่ต้องมาปฏิบัติวิปัสสนา ด้วยวิธีการเจริญสติปัฏฐานสี่ตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้
๑.ทำให้จิตมีพลังเข้มแข็ง สามารถต่อสู้กับความแปรผันของโลก และอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตได้อย่างลุล่วง
๒.ทำให้รู้ธรรมชาติของชีวิตที่เป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่หรือดำรงอยู่ ดับหรือสลายไป อันมีความไม่เที่ยงแท้แน่นอน บังคับบัญชาไม่ได้ซึ่งก่อให้เกิดทุกข์
๓.ทำให้เป็นภูมิคุ้มกันความทุกข์ทางใจที่จะเกิด จนสามารถเผชิญกับความตึงเครียด และปัญหาในชีวิตได้ด้วยความสงบและมีความสมดุล
๔.ทำให้มีสมาธิในการเรียน ความจำดี ความคิดแจ่มใส สามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาชีวิตของตนได้ดี 
๕.สามารถระลึกรู้ถึงบุญและบาป คุณและโทษของการเบียดเบียนใจของตนเอง และการเบียดเบียนผู้อื่น และพร้อมจะกระทำจิตหรือใจของตนเองให้บริสุทธิ์หมดจดยิ่งๆ ขึ้นไป
     ปัจจุบันทุกขณะจิตมีความสำคัญยิ่ง
     พระพุทธองค์ตรัสว่า "อดีตได้ผ่านล่วงเลยไปแล้ว อย่าเสียดายและเสียใจกับอดีต ส่วนอนาคตก็ยังมาไม่ถึง อย่าวิตกกลัวอนาคต จงทำปัจจุบันให้ดีที่สุด เมื่อปัจจุบันดีแล้ว อนาคตย่อมดีเอง ตรงกับลักษณะที่ว่า เมื่อเหตุดีผลย่อมดี"
     ทีนี้เราก็รู้แล้วนะคะว่า ทำไมถึงต้องทำกัมมัฏฐาน เรามาสร้างความแข็งแรงให้กับจิตเรากันดีกว่าค่ะ เมื่อจิตแข็งแรง การทำงาน การดำเนินชีวิต ก็จะเป็นไปอย่างมีสติ มีความรอบคอบ การผิดพลาดก็จะไม่เกิดขึ้น สิ่งดีๆ ก็จะเกิดขึ้นในชีวิตของเรา โดยที่เราไม่ต้องไปพึ่งหมอดู พึ่งน้ำมนต์เก้าวัดที่ไหน เราสามารถที่จะกำหนดชะตาของเราได้ ที่พึ่งที่ระลึกสูงสุดของมนุษย์มีสามประการเท่านั้นค่ะ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือที่เรียกว่าไตรสรณคมณ์ เรามาดำเนินชีวิตในทางที่ถูกต้องกันดีกว่านะคะ.

อธิษฐานธรรม คติธรรมประจำวันข้อที่ ๑๕ หลักการครองเรือน


ธรรมสำหรับการครองเรือนมี ๔ ประการ ได้แก่
๑.สัจจะ คือ ความจริง ซื่อสัตย์จริงใจ พูดจริงทำจริง
๒.ทมะ คือ ความข่มใจ รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดนิสัยไปกับสิ่งที่ดี แก้ไขข้อบกพร่อง
๓.ขันติ คือ ความอดทน ตั้งใจทำงานด้วยความเข้มแข็งอดทน มีจิตตั้งมั่นในจุดหมายไมม่ท้อถอย
๔.จาคะ คือ เสียสละ สละกิเลส สละความสุขสบาย สละประโยชน์ส่วนตน รับฟังความทุกข์ของผู้อื่น
ผู้อธิษฐานธรรมข้อนนี้ ต้องรู้วิธีการครองเรือน ต้องปฏิบัติฆารวาสธรรม ๔ ดังที่กล่าวมา
ความจริงใจ ความข่มใจ ความอดทน เสียสละ 
ธรรมะสี่ประการนนี้ท่านมีพร้อมหรือยัง?
ฉันทนา อุตสาหลักษณ์
กองทุนพิทักษ์ธรรม

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

ธรรมะ & ธรรมชาติ.....อีกครั้ง

...หินเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน มีความหลากหลาย
 ฉันใดก็ฉันนั้น....คนเราก็ไม่เหมือนกัน.....

ธรรมะ & ธรรมชาติ

ต้นไม้ที่ยืนต้นตาย......
ยังคงประโยชน์สำหรับนก กา ให้เกาะพักเหนื่อย
.......แต่คนนั้นเล่า มีประโยชน์แค่ไหน
เมื่อวายชนม์...........

ซ่อมห้องปฏิบัติธรรม


     การบริจาคทานเป็นการสั่งสมทานบารมี ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงสร้างมหาทานบารมีมานับภพนับชาติไม่ถ้วน จนกระทั่งได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การสร้างมหาทานบารมีจะทำให้ไม่เป็นผู้อดอยาก ไม่เป็นผู้ขาดแคลน ในขณะนี้มีบุญใหญ่รอท่านผู้ใจบุญทั้งหลายมาร่วมสร้างมหาทานบารมี โดยการซ่อมแซมห้องปฏิบัติธรรม ณ สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานวัดดอนพุด ซึ่งได้ประสพอุทกภัยในปีที่ผ่านมา ทางสำนักฯ จะติดกระจกหน้าต่างและมุ้งลวดที่ห้องปฏิบัติธรรม โดยที่พระสงฆ์ได้ซ่อมแซมในบางส่วนแล้ว เดิมไม่มีปูนกั้นทำให้น้ำเข้าไปในพื้นที่ห้องปฏิบัติธรรมชั้นล่างได้ ขอเชิญมหาเศรษฐีผู้ใจบุญทุกๆ ท่านได้ร่วมสร้างมหาทานบารมี บริจาคทรัพย์เพื่อใช้ในการติดบานหน้าต่างกระจกและมุ้งลวดที่ห้องปฏิบัติธรรม ตราบใดที่สถานที่ปฏิบัติธรรมยังอยู่ มีคนมาประพฤติปฏิบัติธรรม บุญของเราก็จะเกิดขึ้นทุกๆ วัน เสมือนดั่งดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคาร สั่งสมบุญเป็นเสบียงติดตัวข้ามภพข้ามชาติ ติดต่อร่วมบุญที่พระครูวิธานวรคุณ เจ้าอาวาสวัดดอนพุด โทร.๐๓๖-๓๙๕ ๐๒๔ ได้ทุกวัน